อยากให้เปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งสำรอง

ประเภท: 
ข้อคิดเห็นและชมเชยบริการ
การสำรองที่นั่ง สำหรับรถคันใหม่ ๑. ที่นั่งสำรองแก่ภิกษุ ไม่เหมาะสมเลยที่จะให้เข้ามานั่งตรงส่วนกลางรถโดยสาร คนเป็นพระ จะฝ่าดงประชาชนเข้ามาหรือ แนะนำว่าควรเปลี่ยนให้ไปอยู่เบาะเดี่ยวด้านหน้า เอาเท่าที่เห็น ไม่เคยเห็นพระเดินเข้ามานั่งตรงกลาง เห็นทีไรก็นั่งเบาะเดี่ยวด้านหน้า ตรงประตู ๒. ที่นั่งคนท้อง คนแก่ คนชรา ที่ตรงนี้นั่งหันหลังให้กับประตู เห็นบ่อยมากว่าต้องเดินขึ้นบันไดไปนั่งข้างหน้าสุดตรงชั้นบน ตรงที่สติ๊กเกอร์แปะ น้อยมากนะที่จะเห็นคนด้านล่างลุกให้นั่ง ส่วนใหญ่ก้มหน้ากดมือถือ. คนด้านบนที่เห็นจึงต้องลุกให้นั่ง กระเป๋ารถเมล์ควรคอยสังเกตคนท้อง คนชรา เด็ก พอบอกให้ลุกให้นั่ง ทำไมคนที่ไม่ได้นั่งตรงสติกเกอร์ต้องลุก. และคนที่รั่งตรงที่รั่งสำรอง ไม่ลุก ไม่สนใจ ควรประชาสัมพันธ์เรื่งที่รั่งสำรองให้มากกว่านี้ค่ะ คนส่วนใหญ่ เดินขึ้มาก็จะเลี้ยงข้าวหากขึ้นประตูหลัง คนที่ลุกให้นั่ง มักเป็นคนด้านบน หน้าสุด เห็นคนท้องเดินขึ้นะบันได น่าห่วงนะคะ ทั้งๆที่ ที่นั่งสำรองนั้น อยู่ด้านล่าง จริงๆ ปนที่นั่งสำรองคนพิการกับคนท้อง คนชรา เด็ก เอาไว้ด้วยกันก็ได้ เคยไปญี่ปุ่น ที่นั่งสำรองคือสำรองจริงๆนะ เค้าไม่นั่งกัน ที่นั่งปกติก็ไม่ต้องลุกก็ได้ ส่วนคนแก่เค้าจะรู้เองเลย ว่าต้องไปนั่งที่ไหน เราควรบอกคนแก่ บอกพระ บอกเด็ก บอกคนท้องนะ ว่าขึ้นรถ ควรมุ่งหน้าไปที่ไหนเพราะเวลาเร่งด่วน คนมาก คุณก็ต้องดูแลตัวเอง รักษาสิทธิ์ตัวเองด้วย บางทีคนท้องขึ้นมา กระเป๋ายังไม่รู้ คนท้องยืนเฉยๆ เบียดอยู่บันไดขั้นล่าง ๑๔๐ แต่ก็นั่นแหละ เค้าเลือกที่จะขึ้นเอง ก็ว่าใครไม่ได้ สรุป ๑. แนะนำให้เปลี่ยนตำแหน่งสติกเกอร์ที่นั่งสำรอง ๒. ทำป้ายแสดงที่นั่งสำรองให้เด่นขึ้น ๓. ประชาสัมพันธ์ให้พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทุกเพศทุกวัยทราบ ว่าควรนั่งตรงไหน ลุกเมื่อใด

เรียน คุณผู้ใช้บริการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รับทราบเรื่องแล้ว และส่งข้อเสนอความคิดเห็นดังกล่าวให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรวบรวมใว้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาต่อไป ขอขอบคุณที่ใช้บริการ