ใช้รถเมล์ให้มากขึ้น

ประเภท: 
ข้อคิดเห็นและชมเชยบริการ
https://www.youtube.com/watch?v=al7f0hNMvbU VDO ใช้รถเมล์กันเถิด กระทู้สนทนา รถโดยสารการจราจรรัฐบาลการเมืองอนุรักษ์พลังงาน คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ เนื้อหาต่อไปนี้ คัดลอก (บางส่วน) และแก้ไขมาจากกระทู้เรื่อง รถเมล์คือผู้แก้ปัญหาจราจร และ รถเมล์ขอเป็นใหญ่ในถนน !!! (เหล้าเก่าในขวดใหม่) ใช้รถเมล์แก้ปัญหาจราจรแบบใหม่ จะสามารถแก้ได้ภายใน 1 ปี และใช้เงินในการก่อสร้างน้อยกว่าวิธีอื่นๆ ความคิดเห็นที่ 9 (จากกระทู้ รถเมล์ขอเป็นใหญ่ในถนน) คงต้องปรับค่านิยมการใช้รถยนต์ส่วนตัวของคนทั้งประเทศก่อนแล้วครับ ทุกวันนี้การมีรถส่วนตัวคือความสะดวกสบายและการมีหน้าตาทางสังคมที่ดีขึ้น ช่องทางรถเมล์คือทางด่วนสำหรับมอเตอร์ไซค์และรถส่วนบุคคลนี่คือสิ่งที่เราเห็นจนชินชาและปฏิบัติเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากสังคมมอเตอร์ไซค์บอกว่าตัวเองคือประชากรชั้นสอง งั้นคนขึ้นรถเมล์คงประชากรชั้นจันฑาลเลยทีเดียว เพราะไม่มีช่องทางด่วน ไปไหนก็ต้องรอ รอ รอ ต้องอดทน ทั้งที่เป็นระบบขนส่งมวลชนควรได้สิทธิในความสะดวก แต่กลับเป็นรถส่วนตัวต้องได้รับความสะดวกก่อน ได้ขึ้นสะพานได้ลงอุโมงค์ ได้ขึ้นทางด่วน ช่องทางรถเมล์แท้ ๆ ยังต้องเกรงใจรถส่วนตัว ส่วนเรื่องที่ระบบขนส่งมวลชนจะแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ให้คล่องตัวได้นั้นคงจะอีกหลายสิบปีครับ ในเมื่อคนไทยเรายังคงไม่เปลี่ยนค่านิยมและนิสัยรักความสะดวกสบายส่วนตัวลงไป ต่อให้มีรถไฟฟ้าไปจ่อจากหน้าบ้านถึงที่ทำงาน ยังไงขับรถไปก็ดูมีสง่าราศีกว่าอยู่ดี ตอบกลับ ความคิดเห็นที่ 9-1 เห็นด้วยทุกประการ ยกเว้นที่ว่า จะแก้ปัญหาจราจรใน กทม. ให้คล่องตัวได้ คงจะอีกหลายสิบปี ตอบ ผมว่าถ้าทำตามคลิปนี้ จะทำให้รถเก๋งวิ่งได้เร็วกว่ารถเก๋งมากๆ คือ รถเมล์ทุกๆแยก จะติดไฟแดงประมาณ 2 นาที / 1 ไฟแดง ส่วนรถเก๋งในทุกๆแยก จะติดไฟแดงประมาณ 6 - 8 นาที / 1 ไฟแดง โดยรถเมล์จะบังคับให้ติดไม่เกิน 1 ไฟแดง / 1 สี่แยก แต่รถเก๋งอาจจะติดนาน 1 หรือ 2 หรือ 3 ไฟแดง / 1 สี่แยก ก็ได้ เงื่อนไขนี้ จะทำให้รถเมล์ในวิธีนี้ วิ่งได้เร็วกว่ารถเก๋งมากๆๆ ได้ตามต้องการ เพื่อแลกเปลี่ยนให้ผู้ใช้รถเก๋งเปลี่ยนมาใช้รถเมล์ (โดยไม่ได้บังคับ) ใครไม่รีบร้อน หรือใครมีความจำเป็นต้องใช้รถเก๋งมากๆ ก็สามารถเลือกใช้รถเก๋งต่อไปได้ (ลองกลับไปดูคลิปอีกรอบ) ถ้าทำตามนี้ เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหารถ (เมล์) ติดได้ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน ปัญหาจราจรเกิดจากรถเก๋ง (เพียงบางส่วน) แต่จริงๆแล้ว เกิดจากการมีผู้บริหาร (ในอดีต) โง่ (ทำนองเดียวกับทีมฟุตบอลที่มีโค้ชโง่ ไม่สามารถแยกถูกผิด ดีชั่ว ใครเล่นเก่ง ใครเล่นไม่เก่ง ไม่รู้ไม่เห็น ย่อมทำให้ทีมดีขึ้นไม่ได้) หมายเหตุ ผู้บริหารในอดีตโง่ ในที่นี้หมายถึง 1. ผู้บริหารประเทศ (ยิ่งลักษณ์ และอภิสิทธิ์) 2. ผู้บริหาร กทม. (มรว. สุขุมพันธุ์) เพราะผมเคยส่งวิธีนี้ (ทาง จม. หลายครั้ง) เงียบๆๆๆๆ และเคยขอเข้าพบท่านเหล่านี้ แต่ไม่เคยได้พบ 3. ผู้บริหารตำรวจจราจร (พล.ต.ท. ภาณุ เกิดลาภผล) เคยพบท่านแล้ว ท่านก็บอกว่าเป็นวิธีที่ดี แต่ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย (จึงจบกันไป) วิธีนี้ใช้ในเวลาเร่งด่วน โดยสัญญาณไฟที่ช่องสำหรับรถเมล์ และช่องสำหรับรถเก๋ง จะเปิดเฉพาะในเวลาเร่งด่วน ยกเว้นถนนบางสาย อาจใช้นอกเวลาเร่งด่วนก็ได้ ข้อเสียของวิธีนี้ จะต้องใช้เจ้าหน้าที่ควบคุมสัญญาณไฟจราจร เพื่อปล่อยรถเมล์ และรถเก๋ง สี่แยกละ 1 - 5 คน / 1 สี่แยก โดยเจ้าหน้าที่จะต้องทุกคนจะต้องผ่านการอบรม การขึ้นสัญญาณไฟ (แบบใหม่) นี้ วิธีขึ้นสัญญาณไฟ (แบบใหม่) อาจจะให้เจ้าหน้าควบคุมสัญญาณไฟจราจร นี้ขึ้นไปอยู่ในที่สูง และในจุดที่จะสามารถเห็นช่อง A B C ของทั้งสี่แยกนี้ได้ โดยถ้าใช้เจ้าหน้าที่ 5 คน / 1 สี่แยก อาจให้กดพร้อมๆกันหมด 5 คนนี้จะควบคุมไฟ คนละชุด และกดปุ่มพร้อมๆกัน และถ้ามีคนกดปุ่มใดซ้ำกัน 3 ครั้งจึงจะขึ้นไฟ 1 ครั้ง (ทำนองเดียวกับการให้คะแนนมวยสากลสมัครเล่น) เพื่อให้ได้คำสั่งที่ต้องถูก ควรจะมีลานจอดรถเก๋ง แบบที่หมอชิด (จอดแล้วจร ของรถไฟฟ้า) ทุกๆถนนที่ใช้วิธีนี้ เพื่อให้รถเก๋งที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้รถเมล์ สามารถขับรถเก๋งเข้ามาจอด ในลานจอดรถเก๋งนี้ แล้วเปลี่ยนมาขึ้นรถเมล์ (จอดแล้วจร ของรถเมล์) หมายเหตุ ในปัจจุบันผู้ใช้รถเก๋งที่ต้องการขึ้นรถไฟฟ้า จะต้องขับรถเก๋งออกจากบ้านแล้วหาที่จอดใกล้ๆ สถานีรถไฟฟ้า แล้วขึ้นรถเมล์ (หรือรถอื่นๆ) มาที่สถานีรถไฟฟ้า (ถ้าไม่มีที่จอดแล้วจร) ใช้เวลาในการเดินจากป้ายรถเมล์ ขึ้นสถานี ซื้อตั๋ว รอรถไฟฟ้า (ประมาณ 10 นาที) และเมื่อลงรถไฟฟ้าแล้วต้องเดินลงมาจากสถานีเพื่อต่อรถเมล์ (หรือรถอื่นๆ) ไปจุดหมายปลายทาง (อีก 5 นาที ยกเว้นจุดหมายนั้นจะอยู่ที่ใกล้ๆสถานีพอดี) ดังนั้นจะเห็นว่าจะต้องเดินไปก็เดินมา ต่อรถกันหลายทอด หรือถ้าต้องเปลี่ยนระบบ (เชื่อมโยง) จากใต้ดินไปลอยฟ้า (อีกประมาณ 5 นาที) ดังนั้นถ้าตัดขั้นตอนเกี่ยวกับรถไฟฟ้าออกทั้งหมด (ไม่ใช้) โดยใช้รถเมล์ตามวิธีใหม่นี้ (อย่างเดียว) จะประหยัดเวลาในการเดินขึ้นเดินลง และรอรถที่สถานีรถไฟฟ้า ไปอีกสิบกว่า หรือ ยี่สิบนาที ดังนั้น ถึงรถเมล์ตามวิธีนี้ จะมีความเร็วเฉลี่ยน้อยกว่ารถไฟฟ้า (เล็กน้อย) แต่เมื่อตัด (ลบ) เวลาเดินขึ้นเดินลง และรอรถที่สถานีรถไฟฟ้า ออกทั้งหมด อาจจะทำให้การใช้รถเมล์ตามวิธีใหม่นี้ ใช้เวลาน้อยกว่าการใช้รถไฟฟ้าก็ได้ ??? ควรเพิ่มจำนวนรถเมล์ รถเมล์ใน กทม. ในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 7000 คัน รถเก๋งมีประมาณ 3 - 5 ล้านคัน ดังนั้น ถ้าเพิ่มรถเมล์ เป็น 10000 หรือ 20000 หรือ 30000 คัน (ได้ยิ่งมากยิ่งดี) จะเป็นรถร้อนหรือรถแอร์ ก็ได้ หรืออาจะใช้รถกระบะ หรือรถสี่ล้อ (ใหญ่) หรือรถหกล้อ ก็ได้ มาต่อเก้าอี้ (แบบรถที่ใช้วิ่งในซอย นำมาใช้วิ่งในวิธีใหม่นี้ก็ได้) หรือรถทหาร ก็ได้ จะช่วยทำให้เพิ่มความถี่ในการวิ่งผ่านป้ายรถเมล์ได้บ่อยขึ้น และทำให้ผู้ใช้รถเมล์ไม่ต้องรอรถเมล์นาน จึงทำให้ความเร็วเฉลี่ยในการเดินทาง โดยใช้รถเมล์เพิ่มขึ้นอีก ความเร็วเฉลี่ยในการเดินทางทั้งหมด ต่างกับความเร็วเฉลี่ยของรถเมล์ เพราะความเร็วเฉลี่ยในการเดินทางทั้งหมด จะต้องรวม (บวก) เวลาในการรอรถเมล์ด้วย ส่วนความเร็วเฉลี่ยของรถเมล์ จะนับแต่เฉพาะจากต้นทางถึงปลายทางของรถเมล์คันนั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นเวลาที่ใช้รอรถเมล์ ถ้าลดน้อยลง (จากการเพิ่มจำนวนรถเมล์) ก็จะทำให้ลดเวลาในการเดินทางลงได้ ควรปรับปรุงป้ายรถเมล์ให้บังแดด บังฝนได้จริงๆ เพราะหลังคาป้ายรถเมล์มีหลายแบบ (แบบเก่า แบบใหม่ แบบโบราณ แบบทันสมัย (อาจจะสวยแต่รูป แต่บังแดดบังฝนได้ไม่ดี)) ความคิดเห็นที่ 4 ขอบคุณข้อเสนอดีๆนะคะ เบื้องต้นคงต้องให้รถเมล์ เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อน โดยจัดให้ประมูลเส้นทาง (ระบุค่าโดยสารที่จะจัดเก็บ ให้เหมาะสมกับประชาชน ทั้งในระยะสั้นและยาว) หลังจากนั้น รถเมล์จึงจะได้รับการเพิ่มจำนวนและพัฒนาปรับปรุงด้านบุคลากรค่ะ ก็อยู่ที่รัฐบาลนี้ จะให้ความสำคัญแค่ไหน รบกวนเพื่อนๆ ช่วยๆกันโหวตกระทู้นี้หน่อยค่ะ ระเบียงชมจันทร์ ขอบคุณที่เห็นเช่นนั้น (ผมจะได้ไม่ต้องเป็นหัวเดียวกระเทียมรีบ) แต่ขอเห็นต่างหน่อย คือ ควรเริ่มที่รัฐ เพราะ จะต้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจร และช่องจราจรแบบใหม่ด้วย และอาจจะต้องแก้กฎหมายใหม่ด้วยหรือไม่ (ก็ไม่ทราบ) รบกวนเพื่อนๆช่วยกันส่งเสริม ผลักดันรถเมล์ ให้ได้เป็นใหญ่ในถนนทีเถิด ความคิดเห็นที่ 10 เริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อนก็ได้ครับ คือการกวดขันไม่ให้รถอื่นเข้ามาขับ/จอดในช่องรถโดยสารประจำทาง คือรถอื่นจะติดก็ช่างมัน ให้รถเมล์วิ่งได้เร็วก็พอแล้ว ตอบกลับ ผมชอบคำว่า รถอื่นจะติดก็ช่างมัน ให้รถเมล์วิ่งได้เร็วก็พอแล้ว มากๆๆ เพราะมันเป็นหัวใจของวิธีนี้จริงๆ ถ้าผู้บริหาร (นายก ผู้ว่า กทม. และผู้บริหารตำรวจจราจร) เข้าใจคำนี้ รับรองปัญหารจราจรแก้ได้ทันที เพราะเมื่อไหร่รถเมล์สามารถวิ่งได้เร็วกว่ารถเก๋งมากๆ เมื่อนั้นผู้ใช้รถเก๋งจำนวนมาก จะยอมเปลี่ยนมาใช้รถเมล์ (โดยไม่ต้องบังคับ) ทันที หรืออาจจะเรียกว่า บีบแต่ไม่บังคับ ท้ายแถวจราจรก็จะหดสั้นลงทันทีเช่นกัน ปัญหาจราจรก็จะหมดไปในทันที โดยให้คงสภาพที่ว่าต้องให้รถเมล์วิ่งได้ไวกว่ารถเก๋งมากๆ ตลอดเวลา โดยให้รถเมล์ได้ปล่อยทุก 2 นาที / 1 ไฟแดง ส่วนรถเก๋งจะได้ปล่อยประมาณ 6 - 8 นาที / 1 ไฟแดง และให้รถเมล์จะต้องติดที่ทุกๆสี่แยกไม่เกิน 1 ไฟแดง ส่วนรถเก๋งอาจจะติดในแต่ละสี่แยก 1 หรือ 2 หรือ 3 ไฟแดง ก็ได้ (ช่างรถเก๋งมัน) ที่คิดแบบนี้ไม่ได้ไปเกลียดชังอะไรรถเก๋ง แต่ถ้าต้องการแก้ปัญหาจราจร จะไปสงสารคนชั่วไม่ได้ คนชั่วจะต้องถูกลงโทษ หมายเหตุ คนชั่วในที่นี้ ไม่ได้ชั่วที่นิสัย คนชั่วในที่นี้ คือ ผู้ใช้รถเก๋งที่ใช้ผิวจราจรมากกว่า ผู้ใช้รถเมล์มากกว่า 10 เท่า และขนคนผ่านสี่แยกมากกว่า 10 เท่า (ชั่วร้ายในแง่จราจร) ส่วนผู้ใช้รถเมล์ในที่นี้ จึงเรียกว่าคนดี (ในแง่จราจร) โค้ชฟุตบอล จะต้องรู้ว่า ใครดี ใครชั่ว จะต้องส่งเสริมใคร จะต้องกดหัวใคร (จะต้องมองอนาคตเป็น ไม่ใช้จะมองแต่ปัจจุบัน) ฝันหวานไปวันๆ ผู้ใช้รถเก๋งจะต้องยอมเสียสละ กินยาขม โค้ชจะต้องกล้าให้ยาขม อย่าไปสงสารคนไข้ ถ้าสงสารคนไข้ แล้วมันจะหายป่วยหรือ ?????? อย่ามองแต่โลกสวย ความคิดเห็นที่ 11 คุณสามารถควบคุมปัจจัยภายนอกในช่องรถประจำทางเช่น รถจอด รถอุบัติเหตุ รถขยะ รถแม่ค้า รถส่งของฯลฯ ได้หรือเปล่า แล้วค่อยเสนอมาใหม่นะ วิธีของคุณถ้าจะได้ผลก็คงต้องทำรางสำหรับรถเมล์โดยเฉพาะนั่นแหละ ตอบกลับ ทำไมต้องไปควบคุมปัจจัยภายนอกหล่ะ ? เช่นรถจอด อุบัติเหตุ รถขยะ รถแม่ค้า รถส่งของ ฯลฯ ในอดีตก็มี ในปัจจุบันก็มี ในอนาคตก็ต้องมี เป็นเรื่องธรรมชาติ ควบคุมไม่ได้หลอก ก็ไล่จับกันไปสิ ส่วนจะเข้มงวดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่ามันมีมากหรือมันมีน้อย ถ้าคิดว่าต้องควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้ไม่มีก่อนแล้วค่อยมาเสนอใหม่ คงจะต้องรอชาติหน้า ???? มันไม่น่าจะเป็นเงื่อนไขในการจะทำตามกระทู้นี้เลย ? (เลือกมาบางความคิดเห็น) ของกระทู้เรื่อง รถเมล์คือผู้แก้ปัญหาจราจร แก้ไขข้อความเมื่อ วันจันทร์ เวลา 09:32 น. 0 0 รู้ไว้ใช่ว่า (ประสิทธิ์ รจิตรังสรรค์)